จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

ระบอบฟิวดัล (Feudalism) สงครามครูเสด



ระบอบฟิวดัล
 เมื่อราชอาณาจักรแคโรแลงเจียนสิ้นสุดลงแล้วนั่น สิ่งที่เข้ามาแทนที่ก็คือการปกครองในระบอบ
ศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudal Kingdoms) และสังคมสมัยกลาง (Medieval society) ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบสังคมเยอรมนิคและสังคมโรมันทั้งสองแบบนี้ถูกนำมาหล่อ หลอมกันกันกลายเป็นลักษณะเฉพาะ
แบบของสังคมสมัยกลาง ซึ่งปรากฏทั่วไปในสังคมวิถีแห่งชีวิตประชากร เกี่ยวเนื่องกับสถาบันทุกสถาบัน รวมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและขบวนการยุติธรรมแห่งสมัย รวมทั้งทางด้านศาสนาด้วย ดังนั้นการที่จะเข้าใจลักษณะแห่งระบอบฟิลดัล จึงต้องเข้าใจถึงวิถีชีวิตและสังคมสมัยกลางด้วย
          ที่ มาของระบอบฟิวดัล (Origin of Feudalism) อาณาจักรที่เกิดขึ้นแทนที่จักรวรรดิแคโรแลงเจียนคือดินแดนต่างๆ ในระบบฟิวดัล สังคมสมัยกลางซึ่งเป็นเสมือนลักษณะผสมระหว่างเยอรมนิคและโรมันที่ถูกหล่อ หลอม
เป็นรูปแบบใหม่ ระบบฟิวดัลนี้คือระบบการเป็นเจ้าของที่ดินที่พื้นฐานมาจากการรับราชการทหาร เริ่มมีขึ้นในยุโรปเมื่อประมาณศตวรรษที่ 8 และ 9 รุ่งเรื่องถึงที่สุดในศตวรรษที่ 12 และ 13 ครั้นแล้วจึงได้เริ่มเสื่อมลงตามลำดับ

ลักษณะความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ในระบบฟิวดัลเป็นอย่างไร
                ระบบฟิวดัลเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง Lord (เจ้านาย) กับVassal (ผู้พึ่ง) เป็นระบบการระจายอำนาจออกจาก
ศูนย์กลางกษัตริย์ไปยังขุนนางแคว้นต่างๆ ขุนนางต่างมีกองทัพของตนเอง

ลักษณะความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ในระบบฟิวดัลเป็นอย่างไร
                หน้าที่ของ   Lord คือพิทักษ์รักษาVassalและที่ดินของ Vassalจากศัตรูและให้ความยุติธรรม ปกป้องคุ้มครองในการพิจารณาคดี   
                     
โครงสร้างทางสังคมของระบบฟิวดัล
1.  กษัตริย์ มีฐานะเป็น Lord สูงสุดโดยมีขุนนางเป็นVassalมีพันธะผูกพันทางหน้าที่ต่อกัน  กษัตริย์จะพระราชทานที่ดินเป็นการมอบหมายอำนาจในการปกครองให้กับขุนนาง อำนาจของกษัตริย์อ่อนลง
ปกครองราษฎร์ที่อยู่รอบพระนคร    ดินแดนส่วนอื่นๆเป็นของขุนนาง  และมีความผูกพันกับกษัตริย์โดยยกย่องให้เป็นหัวหน้า  มีข้อผูกพันกับกษัตริย์เพราะมีที่ดินอยู่ในอาณาเขตจึงยอมเป็นVassal มีหน้าที่ช่วยเหลือพระเจ้าแผ่นดินยามสงคราม ที่ดินที่กษัตริย์พระราชทานให้สามารถริบคืนได้ถ้าVassalไม่ปฏิบัติตามสัญญา หรือสิ้นชีวิตโดย ไม่มีทายาท
2. ชนชั้นปกครองหรือขุนนางเจ้าของที่ดิน (Suzerain)นับตั้งแต่อัศวินขึ้นไปในฝรั่งเศส มีบรรดาศักดิ์เป็น Duke,Earl, Lord, Baron, Countมีการปกครองลดหลั่นตามลำดับขั้น
ดูแลปกครองเสรีชน และเสรีชนมีฐานะเป็น Vassalของขุนนาง  ขุนนางมีฐานะเป็นทั้ง Vassalของกษัตริย์ ซึ่งVassalมีหน้าที่ส่งทหารของตนไปสมทบกับกองทัพของLord   และช่วยเหลือทางการเงินแก่Lord  
ขุนนางชั้นสูงยังมีฐานะเป็นLord ของขุนนางชั้นต่ำกว่าลงมา ขุนนางเป็นเจ้าของปราสาทหรือคฤหาสน์ยังมีขุนนางที่ผ่านการฝึกได้รับการ สถาปนาแต่ตั้งให้เป็นอัศวิน(Knight)
ไม่ใช่ขุนนางที่สืบทอดทางสายโลหิต
3. เสรีชน (villain) ส่วนใหญ่เป็นชาวนา  เป็นผู้เช่าที่ดินซึ่งเคยเป็นของตนเองแต่ไม่มีภาระผูกติดกับที่ดิน
หรือเป็นเจ้าของที่นาขนาดเล็ก ชาวนารายเล็กๆ
4.  ทาสติดที่ดิน(serf) คือชาวนาที่อาศัย ทำกินบนที่ดินตั้งแต่บรรพบุรุษ ต้องผูกติดกับที่ดิน จะโยกย้ายไปไหนไม่ได้ อยู่ในการควบคุมของเจ้านาย ต้องเสียภาษีรัชชูปการ
ภาษีผลิตผลที่ผลิตได้ให้เจ้านาย ยอมให้เจ้านายเกณฑ์แรงงานขุดคู สร้างสะพาน
5.  พระและนักบวช  มีบทบาททางการอบรมจิตใจให้แก่สามัญชน
    
 การเลื่อนชั้นทางสังคมทำได้หรือไม่
           การเลื่อนชั้นทางสังคมของชาวนาอิสระและทาสติดที่ดินทำได้ยากเพราะชนชั้นเจ้าของที่ดินและชาวนา
มีระบบสืบทอดกรรมสิทธิ์ตามสายโลหิต

การขยายพื้นที่อาณาเขตทำได้โดยวิธีใด
1.  โดยวิธีแย่งชิง ทำสงคราม
2.   การแต่งงานและการรับมรดก
          สงครามครูเสด ( Crusade war)

          จุดเปลี่ยนแปลงหนึ่งที่ทำให้ยุคกลางซึ่งมีอิทธิพลเหนือ ยุโรป เป็นระยะเวลากว่า 1,000 ปีต้องล่มสลายลงไป ก็เนื่องจากพลังของสงครามศาสนาที่เริ่มเกิดขึ้นผลของสงครามครูเสดนี่เองที่ เป็นผลให้ความเชื่อในคริสต์ศษสนาเริ่มเสื่อมลง ผู้คนเริ่มหมดศรัทธาจาก ศาสนจักร เริ่มมีการเห็นวิทยาการใหม่ๆจากโลกมุสลิมทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนสังคมยุโรป ให้ก้าวเข้าสู่การเรียนรู้ขนานใหญ่ในเวลาต่อมา

          สงครามครูเสด หรือ สงครามไม้กางเขน เป็นสงครามทางศาสนาระหว่างพวกคริสเตียนและพวกมุสลิม ระหว่าง   ค.ศ.1096–1291 สาเหตุของสงครามเกิดจากการที่พวกคริสเตียนที่ต้องการจาริกแสวงบุญไปยังเมืองเยรูซาเล็ม (Jerusalem) ซึ่งเป็นที่ประสูติของพระเยซูและเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาคริสต์ ถูกรบกวนจากพวกเร่ร่อนเผ่าเซลจุค เตอร์ก (Seljuk Turks) ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม คอยขัดขวางไม่ให้ชาวคริสต์เดินทางไปยังเมืองเยรูซาเล็ม ชาวคริสต์ได้ร้องเรียนและขอความช่วยเหลือจากสันตะปาปาที่กรุงโรม สันตะปาปาและชาวยุโรปในสมัยนั้นเห็นว่า การยึดครองเมืองเยรูซาเล็มจะทำให้ได้อาณาจักรของคริสต์ศาสนามาเป็นของตน จึงชักชวนให้ชาวคริสต์จับอาวุธทำสงครามปราบพวกเตอร์ก ซึ่งดูถูกศาสนาคริสต์และข่มเหงชาวคริสต์ โดยให้ถือว่าการเดินทางไปทำสงครามศาสนาเป็นการไถ่บาปและจะได้ขึ้นสวรรค์ การทำสงครามครั้งนี้ถือว่าเป็นเจตนารมณ์ของพระผู้เป็นเจ้า

          สงครามครูเสดก่อให้เกิดผลหลายประการต่อยุโรป ในด้านการทหาร ถือว่าเป็นความล้มเหลวของชาวคริสต์ เพราะไม่สามารถขับไล่พวกมุสลิมออกไปจากดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ได้ ทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการฟื้นฟูการค้าในยุโรป เกิดมีเมืองใหญ่ และธนาคาร ผลทางสังคม ทำให้ระบบฟิวดัลเสื่อมลง พวกทาสได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ ทางด้านศาสนา ทำให้คนเสื่อมศรัทธาในศาสนา สันตะปาปามีชื่อเสียงลดลง ในทางการเมือง ทำให้กษัตริย์กลับขึ้นมามีอำนาจใหม่ และทางด้านวิทยาการ ทำให้ชาวยุโรปได้รับความรู้ใหม่ ๆ จากโลกตะวันออก และทำให้เกิดการฟื้นฟูศิลปวิทยาการในเวลาต่อมา กล่าวโดยสรุป สภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของยุโรปเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสมัยใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น