จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เปรียบเทียบศาสนาฮินดู พุทธ

ฮินดู 
  ประวัติศาสดา    

     ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ไม่มีศาสดาจริงจังเหมือนศาสนาอื่น แต่มีหัวหน้าลัทธิหรือผู้แต่งตำรา ทำหน้าที่คล้ายศาสดา โดยประวัติย่อของหัวหน้าลัทธิและผู้แต่งตำรา มีดังนี้
     1. วยาสะ ท่านผู้นี้เป็นผู้เรียบเรียงคัมภีร์พระเวท คัมภีร์อิติหาสะและคัมภีร์ปุราณะ
     2. วาลฆีกิ เป็นฤษีผู้แต่งมหากาพย์รามายณะ ท่านเป็นพราหมณ์โดยกำเนิด แต่ถูกพ่อแม่ทิ้งตั้งแต่ยังเล็กพวกชาวนาได้นำไป
          เลี้ยงไว้
     3. โคตมะ หรือ เคาตมะ ผู้ตั้งลัทธินยายะ เกิดประมาณ 550 ปีก่อน ค.ศ.
     4. กณาทะ ผู้ตั้งลัทธิไวเศษิกะ เกิดประมาณศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ
     5. กปิละ ผู้ตั้งลัทธิสางขยะ เกิดในสมัยศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ
     6. ปตัญชลี ผู้ตั้งลัทธิโยคะ เกิดในสมัยศตวรรษที่ 3 หรือ 4 ก่อน ค.ศ
     7. ไชมินิ ผู้ตั้งลัทธิมีมางสา หรือปูรวมีทางสา เกิดในสมัยศตวรรษที่ 6-2 ก่อน ค.ศ
     8. มนูหรือมนุ ผู้แต่งคัมภีร์ธรรมศาสตร์ เกิดในศตวรรษที่ 5 ก่อน ค.ศ.
     9. พาทรายณะ ผู้ตั้งลัทธิเวทานะหรือ อุตรมีมางสา มีผู้กล่าวว่าเป็นคนเดียวกับวยาสะ เกิดระหว่างศตวรรษที่ 6-2 ก่อน ค.ศ.
     10. จารวากะ ผู้ตั้งลัทธิโลกายะ หรือวัตถุนิยม ไม่มีประวัติแน่นอน
     11. ศังกราจารย์ ผู้แต่งอรรถกถา หรือคำอธิบายลัทธิเวทานะ เกิดระหว่างปี ค.ศ. 788-820 และเป็นผู้ตั้งลัทธิอไทวตะ หรือ
           เอกนิยมคือนิยมพระเจ้าองค์เดียว
     12. นาถมุนี เป็นผู้นำคนแรกของลัทธิไวษณวะ อยู่ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 824-924
     13. รามานุชาจารย์ ถือว่าเป็นคนแรกของลัทธิไวษณวะ และเจ้าของปรัชญาวิศิษฏาทไวตะเกิดปี ค.ศ. 1027
     14. มัธวาจารย์ เป็นผู้นำท่านหนึ่งแห่งลัทธิไวษณะวะ และเจ้าของปรัชญา ทไวตะ หรือ ทวินิยม อยู่ในช่วงระหว่าง
           1199-1277
     15. ลกุลีศะ (สมัยของท่านนี้ยังไม่แน่นอน) เป็นอาจารย์ใหญ่แห่งนิกายไศวะ ฝ่ายใต้ผู้ตั้งนิกายปศุปตะ
     16. วสุคุปตะ เป็นผู้ตั้งลัทธิไศวะฝ่ายเหนือที่เรียกว่า กาษปีรไศวะ (อยู่ระหว่างศตวรรษที่ 9 แห่ง ค.ศ.)
     17. รามโมหัน รอย เป็นผู้ตั้งพรหมสมาช (สมาคม) อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1774-1833
     18. สวามีทะยานัน สรัสวดี เป็นผู้ตั้งอารยสมาช อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1824-1833
     19. รามกฤษณะ เป็นผู้นำทางความรู้และการปฏิบัติ เป็นผู้จัดให้มีขบวนการรามกฤษณะมิชชัน แม้ท่านจะไม่ได้ตั้งขึ้นเอง แต่
           สวามีวิเวกานันทะ สรัสวดี ก็ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องอนุสรณ์ถึงท่าน อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1836-1886

                                                                                                                                                                  <<
top >>
   แนวคิดเรื่องนรกสวรรค์          

     มีความเชื่อว่า เทพเจ้าองค์สำคัญๆ ประทับอยู่บนสวรรค์เป็นเจ้าสวรรค์

                                                                                                                                                                  <<
top >>
   แนวคิดเรื่องจุดหมายปลายทาง    

     1. จุดหมายปลายทาง กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระพรหม
     2. วิธีปฏิบัติ บำเพ็ญโยคะปลูกฝังให้เกิดความรู้เกี่ยวกับพระพรหม (ความจงรักภักดีต่อพระเป็นเจ้าทั้ง 3 ก็เป็นทางไปสู่จุดหมายปลายทางได้)
     3. ชีวิตในโลกนี้ มีหลายครั้งมีการเวียนว่ายตายเกิด

                                                                                                                                                                  <<
top >>
   วิธีปฏิบัติในศาสนา    

      ข้อปฏิบัติในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีทั้งส่วนที่ เป็นส่วนเฉพาะและส่วนรวมที่ต้องประพฤติปฏิบัติ ตามกฎประเพณีที่ทำไว้สำหรับวรรณะของตน

กฎสำหรับวรรณะ
     1.การแต่งงาน การแต่งงานจะมีนอกวรรณะไม่ได้ แต่ชายเป็นพราหมณ์แต่งงานกับหญิงวรรณะอื่นได้ เรียกว่า อนุโลม ส่วนหญิงที่เป็นพราหมณ์ แต่งงานกับชายวรรณะอื่นไม่ได้ เรียกว่า ปฏิโลม
     2.อาหารการกิน มีข้อกำหนดว่าอะไรกินได้ อะไรกินไม่ได้ และบุคคลวรรณะใดปรุงอาหารให้คนวรรณะใดกินไม่ได้ เช่น พราหมณ์ไม่กินเนื้อสัตว์ คนวรรณะอื่นปรุงอาหารให้กินไม่ได้ ต้องเป็นพราหมณ์ด้วยกันปรุงให้กันจึงจะกินได้
     3.อาชีพ ต้องอยู่ในการจำกัดว่า บุคคลเกิดวรรณะใดต้องประกอบอาชีพตามที่กำหนดไว้สำหรับบุคคลในวรรณะนั้นเท่านั้น
     4.เคหสถานที่อยู่ ในกฎเดิมห้ามชาวฮินดูมีถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่นอกเขตประเทศอินเดียและห้ามเดิน เรือในทะเล แต่ปัจจุบันไม่ถือกันแล้ว

การบูชายัญเทวะ
     1.การไหว้เพื่อถวายความจงรักภักดีแด่พระผู้เป็นเจ้าและเทพเจ้าต่างๆ ตามโบสถ์และเทวาลัย
     2.การสวดสรรเสริญพระเจ้า ภาวนา สงบจิต การใช้น้ำชำระกายและบูชาเทวะเป็นประจำทุกเดือน
     3.ปฏิบัติศาสนกิจเป็นพิเศษเป็นการสมโภชในวันสำคัญทางศาสนา มีการถือบำเพ็ญภาวนาอุทิศแด่เทวะ


พุทธ
ประวัติศาสดา    

     พระพุทธเจ้าพระนามเดิม สิทธัตถะเป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ นครหลวงของแคว้น สักกะทางอินเดียภาคเหนือ พระองค์ประสูติที่ป่าลุมพินี อันตั้งอยู่แดนต่อแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตประเทศเนปาล เรียกว่า ลุมมินเด
เมื่อเจริญวัย ทรงได้รับการศึกษาศิลปวิทยาอย่างดีเมื่อพระชนมายุ 16 ปี ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงโยโสธราหรือพิมพาแห่งกรุงเทวทหะ เมื่อพระชน 29ปี ทรงได้พระโอรสพระนามว่า ราหุล
     ในปีที่ 29 แห่งพระชนมายุนั่นเองได้เสด็จออกทรงผนวชเพื่อแสวงหาการตรัสรู้สัจธรรม เพื่อพ้นความเวียนวายตายเกิดและเพื่อสั่งสอนโลกให้ได้ตรัสรู้ตามครั้งแรกทรง ศึกษาจากอาฬารดาบส และอุททกดาบส แต่ทรงไม่เห็นด้วย จึงค้นคว้าและทรงปฏิบัติด้วยพระองค์เองต่อไป ทรงบำเพ็ญเพียรอย่างหนักครั้งแรกทดลองวิธีทรมานพระองค์ตามแบบนักบวชในครั้ง นั้นในที่สุด ทรงพบว่ามิใช่ทางที่ถูก จึงฝึกอบรมทางจิต และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใน 6 ปีต่อมา คือพระชนมายุได้ 35 ปี ณ โคนแห่งไม้โพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ปัจจุบันเรียกว่าตำบลพุทธคยา แคว้นพิหารของอินเดีย ต่อจากนั้น เสด็จไปแสดงธรรมครั้งแรกแก่ภิกษุ 5 รูป ซึ่งออกบวชตามพระองค์และคอยรับใช้ระหว่างบำเพ็ญเพียร แต่เมื่อเห็นทรงเลิกทรมานพระกาย ก็เข้าใจว่าทรงทำผิด จึงปลีกตัวมาอยู่ที่ป่าอิสิปตนะอันเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อใกล้กรุงพาราณสี การทรงแสดงธรรมครั้งแรกหรือที่เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนั้นได้ผล คือภิกษุรูปหนึ่งนามว่า โกณทัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม ต่อมาภิกษุอื่นๆก็ได้รับการเทศนาสั่งสอนจนได้ดวงตาเห็นธรรมหมดทุกรูป แล้วจึงทรงแสดง อนัตตลักขณสูตรเพื่อชี้ลักษณะเป็น อนัตตาจะได้คล้ายความคิดอัตตา หรืออาตมันตามแบบพราหมณ์ ภิกษุทั้ง 5 รูปได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สถานที่แสดงธรรมจักรในปัจจุบันเรียกว่าสารนาถ อยู่ในแคว้นอุตตรประเทศของอินเดีย
     ทรงแสดงธรรมและบัญญัติพระวินัยประดิษฐานพระพุทธศาสนา มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา คือนักบวชชายหญิง และสาวกที่เป็นคฤหัสถ์ชายหญิงมากมายเป็นเวลา 45 ปี ก็ได้ปรินิพพาน ณ ป่าไม้สาละใกล้กรุงกุสินารา ในปัจจุบันเรียกว่า กุสินคร ทรงสอนให้ถือพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระองค์
     พระองค์ไม่สอนศาสนาโดยตั้งพระองค์เป็นจุดศูนย์กลาง พระธรรมคือความจริงความถูกความตรง ที่ทรงนำมาสอนมิได้สั่งสอนด้วยการเดา แต่ทรงประพฤติปฏิบัติประจักษ์แจ้งในความจริงนั้นๆมาแล้วจึงนำมาสั่งสอน
พระองค์ไม่ทรงสอนเรื่องเทวดาสร้างโลก และไม่เรียกร้องความเคารพนับถือ กลับทรงแสดงว่าผู้บูชาพระองค์ด้วยวัตถุ เช่น ธูปเทียนดอกไม้ไม่เชื่อว่าบูชาด้วยบูชาอย่างยิ่ง ผู้ใดประพฤติตนดีตามธรรมะผู้นั้น จึงถือว่าบูชาพระองค์ด้วยบูชาอย่างยิ่ง เป็นการเน้นให้เห็นถึงความสำคัญที่ความประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนกล่าว อย่างสั้นๆ

เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของพระองค์ก็คือ
     1. ประสูติ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ณ ป่าลุมพินี ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่าลุมมินเด ตั้งอยู่ในประเทศเนปาล ในวันวิสาขปุณณมี คือวันพระจันทร์เต็มดวงแห่งเดือนเวสาขะ (เทียบด้วยวันกลางเดือน 6 ของไทย)
     2. ตรัสรู้ ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ณ โคนไม้โพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า พุทธคยา ตั้งอยู่ในแคว้น พิหารประเทศอินเดีย ในวันวิสาปุณณมีเช่นเดียวกันกับวันประสูติเป็นแต่ต่างปีกัน
     3. แสดงธรรมครั้งแรก ในปีที่ตรัสรู้นั้นเอง ห่างจากวันตรัสรู้ 2 เดือน ณ ป่าอิสิปตนะ มิคทายะ ใกล้กรุงพาราณสี ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ ตั้งอยู่ในแคว้นอุตตรประเทศของอินเดีย ในวัน อาสาฬหปุณณมี คือวันพระจันทร์เต็มดวงแห่งเดือนอาสาฬหะ (เทียบด้วยวันกลางเดือน 8 ของไทย)
     4. ปรินิพพาน ก่อนพุทธศักราช 1 ปี ณ ป่าไม้สาละ ใกล้กรุงกุสินารา ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่ากุสินคร ตั้งอยู่ในแคว้นอุตตรประเทศอินเดีย ในวันวิสาขปุณณมีเช่นเดียวกันกับวันประสูติ และตรัสรู้ เป็นแต่ต่างปีกัน

                                                                                                                                                                  <<
top >>
   แนวคิดเรื่องนรกสวรรค์          

     พระพุทธศาสนา พูดเรื่องนี้ไว้เป็น 3 ระดับ

          ระดับที่ 1 นรก-สวรรค์ ภายหลังการตาย
          ตามพระไตรปิฎก "เมื่อตีความตามตัวอักษรแล้ว ก็ต้องบอกว่า มี" วิธีลงโทษในนรกด้วยประการต่างๆ มีใน พาลบัณฑิตสูตร และ เทวทูตสูตร... โดยมากพูดถึงนรก ไม่ค่อยพูดถึงสวรรค์.. นอกจากนี้ยังมีบางแห่งพูดถึงอายุเทวดาในชั้นต่างๆ เช่น ชั้นจาตุมหาราช หรือชั้นโลกบาล 4 ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และ ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ยังมีอายุมนุษย์ ถึงรูปพรหม แสดงไว้ในฝ่ายพระอภิธรรม

          ระดับที่ 2 นรก-สวรรค์ ที่อยู่ในใจ
          "สวรรค์ในอก นรกในใจ" เป็นเรื่องที่มีในชาตินี้ นรก-สวรรค์แม้ในชาติหน้า มันก็สืบไปจากที่มีในชาตินี้..." "ระดับจิตของเราอยู่แค่ไหน เวลาตายโดยทั่วไปถ้าไม่ใช่กรณียกเว้น มันก็อยู่ในระดับนั้น ส่วนในกรณียกเว้น ถ้าเวลาตายนึกถึงอารมณ์ที่ดี เช่นทำกรรมชั่วมามาก แต่เวลาตายนึกถึงสิ่งที่ดี ก็ไปเกิดดีได้ ถ้าหากเวลาอยู่ ทำกรรมดี แต่เวลาตายเกิดจิตเศร้าหมอง ระดับจิตตกลงไป ก็ไปเกิดในที่ต่ำ"

          ระดับที่ 3 นรก-สวรรค์ แต่ละขณะจิต
          คือ การที่เราปรุงแต่งสร้างนรก-สวรรค์ของเราเองตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน.. คือปรุงแต่งด้วยกิเลส มีความดี -ความชั่ว มีกุศล - อกุศลในจิตของเราเอง" "หากว่าจิตใจของเรามีภูมิธรรมดี สร้างกุศลไว้มาก ทำจิตใจให้อิ่มเอิบเป็นสุข พยายามมองในแง่ดี ก็รับอารมณ์ที่เป็นสุขไว้ได้มาก"

                                                                                                                                                                  
   แนวคิดเรื่องจุดหมายปลายทาง    

    1.จุดหมายปลายทาง นิพพาน (ดับความทุกข์ ความเดือดร้อนโดยดับกิเลส ที่เป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ ความเดือดร้อน)
    2.วิธีปฏิบัติ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ ทางสายกลาง ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ประกอบด้วยหลักการ 8 อย่าง คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เป็นหลักการทางปัญญา การเจรจาชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ เป็นหลักการทางศีล ความเพียรชอบ การตั้งสติชอบ การตั้งใจมั่นชอบ เป็นหลักการทางจิตหรือสมาธิ
     3.ชีวิตในโลกนี้ มีหลายครั้ง มีการเวียนว่ายตายเกิด (หลักฐานเรื่องนี้จาก พระไตรปิฎก)
   วิธีปฏิบัติในศาสนา    

      ตามหลักพระพุทธศาสนา ทุกคนเป็นอิสระที่จะพิจารณาและตรวจสอบ คำสอนทางพระพุทธศาสนาก่อนที่จะตัดสินใจนับถือ แม้ภายหลังการนับถือแล้วบุคคลก็มีอิสรภาพที่จะเลือกส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งคำ สอนมาปฏิบัติได้ พระพุทธเจ้าได้ประทานรูปแบบแห่งการปฏิบัติหลายอย่างให้เหมาะแก่ประชาชนผู้มี รสนิยมและแนวโน้มต่าง ๆ กัน โดยมีแนวปฎิบัติ ดังต่อไปนี้

      1.เว้นความชั่วทั้งปวง บำเพ็ญความดีและชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
      2. การเอื้อเฟื้อแบ่งปัน การมีศีลและการพัฒนาทางจิต
      3. การมีศีล สมาธิและปัญญา



อิสราม
  แนวคิดเรื่องนรกสวรรค์          

     เป็นศาสนาที่ปฏิเสธเรื่องกรรม ถือว่ากรรมมิใช่เรื่องของคนทำเอง แต่เป็นเรื่องของพระเจ้า และปฏิเสธเรื่องสังสารวัฏ แต่มีสวรรค์ นรก ดังนั้น คำสอนจึงเป็นไปเพื่ออยู่ในโลกนี้กับสวรรค์ พื้นฐานของศาสนานี้ที่สำคัญอยู่ที่ศรัทธาแต่พระอัลเลาะฮ์ โดยมีปาฏิหาริย์ อิทธฤทธิ์ของพระองค์เป็นหลักประกอบ แม้การปฏิบัติธรรมหรือทำอะไร แม้แต่ทำสงครามก็เพื่ออัลเลาะฮ์ ดังนั้น จุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนานี้ก็คือ ความโปรดปรานของพระอัลเลาะฮ์ จะได้ไปสวรรค์ไปอยู่ร่วมกับพระอัลเลาะฮ์ และให้คนทั้งโลกเป็นชาติเดียวกัน ภายใต้ร่มเงาของพระอัลเลาะฮ์ (คือเป็นมุสลิมให้หมด)
     ความเข้าใจเรื่องสังสารวัฏของมุสลิมในศาสนามุสลิมถือว่า ตายแล้วไม่กลับมาเกิดใหม่อีก เมื่อตายแล้ววิญญาณจะวนเวียนอยู่ที่ศพและกุโบร คือที่ฝังศพของตนจนกว่าจะถึงวันสิ้นโลก เมื่อถึงวันนั้นเทพอิสรอฟิลเป่าสังข์ ดวงวิญญาณทุกดวงจะเข้าร่างแล้วลุกขึ้นจากหลุมฝังศพ เดินไปรับคำพิพากษา ใครจะขึ้นสวรรค์ ลงนรกก็รู้กันวันนั้น ตามความดีความชั่วของตน ขึ้นสวรรค์ก็อยู่เป็นนิรันดร ตกนรกก็ชั่วนิรันดร

                                                                                                                                                                  <<
top >>
   แนวคิดเรื่องจุดหมายปลายทาง    

    1.จุดหมายปลายทาง สวรรค์ (อยู่กับพระเจ้า)
    2.วิธีปฏิบัต1. มีความเชื่อในพระอัลเลาะฮ์และทูตของพระองค์ คือ พระนบีมูฮัมมัด 2. ทำละหมาด คือ สวดมนต์หันหน้าไป
         ทางเมืองเมกกะ 3. ให้ทาน 4. อดอาหารเวลากลางวันในเดือนรอมฎอน (กลางคืนไม่ห้าม) 5. จาริกไปยังนครเมกกะ
     3.ชีวิตในโลกนี้ มีครั้งเดียว
คริสต์
   แนวคิดเรื่องนรกสวรรค์          

     ในศาสนานี้ถือว่า คนตายแล้วต้องเกิดใหม่แต่ก่อนจะเกิดใหม่ ต้องได้รับผลดีผลชั่วที่ทำไว้เมื่อเป็นคนให้หมดก่อน โดยถูกส่งขึ้นสวรรค์บ้าง ลงนรกบ้าง ตามความดีความชั่ว จะเป็นอยู่อย่างนี้ จนกว่าการต่อสู้ของพระเจ้ากับมารจะสิ้นสุด โดยพระเจ้าเป็นฝ่ายชนะ เมื่อถึงวาระนั้น ยมโลกอันเป็นที่พิพากษาวิญญาณ ก็จะได้รับการชำระล้างให้สะอาด ต่อจากนั้นสวรรค์ใหม่ โลกมนุษย์ใหม่ ก็จะเกิดใหม่ ตามประสงค์ของพระเจ้าซึ่งถูกมารขัดขวางไว้ ส่วนมารเมื่อแพ้แล้ว ก็จะไปอยู่โลกมืดอื่นอันเป็นที่เดิมของตน
     เมื่อมนุษย์ตายแล้ววิญญาณจะวนเวียนใกล้ร่างที่คนตายอยู่สามวัน ในขณะประกอบพิธีศพในบ้าน ถ้าดวงวิญญาณบริสุทธิ์ วิญญาณก็จะมีความสุขอยู่สามวัน ถ้าดวงวิญญาณไม่บริสุทธิ์ ก็จะมีความทุกข์สามวัน จากนั้นวิญญาณก็จะข้ามสะพานพิพากษา เพื่อไปรับคำพิพากษาและไปยังไฟชำระ
     วิธีขึ้นสวรรค์หรือตกนรก เมื่อตายแล้ว ความดีความชั่วของคนจะปรากฏเป็นตัวตน ความดีปรากฏเป็นหญิงงาม ความชั่วปรากฏเป็นหญิงแก่ หญิงทั้งสองนำวิญญาณคนดีคนชั่วไปทางเดียวกัน ไปข้ามสะพานพิพากษาความดี-ชั่วที่มีอยู่ในสุดของพระเจ้า สาวสวยจะนำวิญญาณดีข้ามสะพานไปสู่สวรรค์โดยเรียบร้อย คนแก่จะนำวิญญาณชั่วพลัดตกสะพานไปสู่นรก ถ้าความดี-ชั่วก่ำกึ่งกันก็ต้องไปรอคำพิพากษาจากตุลาการสูงสุดของพระเจ้า
     เมื่อได้รับผลดี-ชั่วพอแล้ว ก็จะกลับมาเกิดเป็นคนใหม่

                                                                                                                                                                  <<
top >>
   แนวคิดเรื่องจุดหมายปลายทาง    

     จุดหมายปลายทางสูงสุดของชีวิตของศาสนาโซโรอัสเตอร์ อันเป็นความสุขที่แท้จริงและนิรันดร คือ สวรรค์ วิธีจะบรรลุถึงจุดหมายปลายทางนั้น ศาสนิกชนจะต้องตั้งอยู่ในศีลธรรม คือ บำเพ็ญตนให้มีความบริสุทธิ์ทางกาย วาจา ใจ และบูชาพระเจ้าด้วยความจงรักภักดีอย่างแท้จริง

ศาสนาคริสต์และอิสลามมีความเชื่อที่คล้ายๆกันกับพุทธคือ

ศาสนาคริสต์และอิสลามมีความเชื่อที่คล้ายๆกัน
คือ พระเจ้ามีเพียงองค์เดียว ของอิสลามคือพระอัลลอฮ์
ของคริสต์ก็พระยะโฮวา ส่วนพระเยซูเขาว่าเป็นพระบุตร และเชื่อว่าชีวิตมีเพียงครั้งเดียว เมื่อตายไปวิญญาณก็จะออกจากร่างไปรอการตัดสินบุญ บาปในวันพิพากษาโลก( ในหนังสือบอกอย่างนั้นนะ ) ถ้าสร้างบุญคือความดีก็จะไปอยู่กับพระเจ้าชั่วนิรันดร์ แต่ถ้าทำบาปก็ตกนรกตลอดกาล คนล่ะเรื่องกับของศาสนาพุทธเลยที่ยังต้องเกิดอีกถ้ายังไม่หมดกิเลส

คริสต์และอิสลาสเชื่อว่าสวรรค์มีชั้นเดียวครับ มีพระเจ้าอยู่บนสวรรค์ด้วย เป็นดินแดนสุขาวดี มีสถานที่รื่นเริงมากมาย มีแม่น้ำที่สามารถดื่มและรสชาติอร่อยแบบที่ของกินบนโลกมนุษย์ไม่สามารถเทียบ ได้เลย พอผมได้ฟังผมก็คิดถึงสวรรค์ของชาวพุทธครับที่จะมีความสุขทางกาม (ตา หู จมูก ปาก และกายสัมผัส) เป็นส่วนใหญ่เช่นเดียวกัน

ส่วนนรกทั้งสองศาสนาก็เหมือนกันครับ
เป็นไฟร้อนแบบที่ไฟบนโลกมนุษย์เทียบไม่ติด และต้องโดนเผาอยู่อย่างนั้นไม่มีวันตาย และต้องอยู่อย่างนั้นตลอดไป

มนุษย์มีเวลาที่จะเชื่อพระเจ้าเพียงตอนที่อยู่บนโลกมนุษย์เท่านั้น
ต่อให้ทำเลวมาตลอดชีวิต แต่ถ้าก่อนตายรับเชื่อพระเจ้า วิญญาณหลังจากตายแล้วก็จะได้ไปสวรรค์ ตรงนี้ก็สอดคล้องกับพุทธศาสนาครับที่ว่า ไม่ว่าจะทำกรรมอันใดไว้ตลอดชีวิต แต่ถ้าก่อนตายนึกถึงในสิ่งที่ดีๆ ก็จะได้ไปเกิดในภพที่ดี เช่น สวรรค์ พรหม เป็นต้น หรืออย่างน้อยก็มนุษย์เช่นเดิม แต่ถ้าระหว่างตายจิตหลงอยู่ในความโลภ โกรธ หลง หรือคิดถึงกรรมชั่วที่ตนเองทำ ก็จะตกไปสู่อบายภูมิครับ


ศาสนาคริสต์มีจุดหมายปลายทางที่เป็นความสุขนิรันดร คือ สวรรค์อันเป็นอาณาจักรของพระ เจ้า วิธีปฏิบัติที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายปลายทางนั้น คือการปฏิบัติตามพระบัญญัติให้ครบถ้วน คือ รักพระเจ้าอย่างสุดจิตสุดใจและรักเพื่อนมนุษย์เหมือนรักตนเอง ชาวคริสต์เชื่อว่าชีวิตในโลกนี้มีเพียงครั้งเดียว ตายไปแล้วก็จะไปอยู่ในนรกสวรรค์ชั่วนิรันดร
 ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุด ทรงเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งตลอดทั้งกำหนดโชคชะตาของคนและสัตว์ เพราะฉะนั้นวิถีชีวิตของแต่ละคนจึงเป็นไปตามพรหมลิขิต แต่คนก็อาจเปลี่ยนวิถีชีวิตได้ หากทำให้พระพรหมเห็นใจและโปรดปราน โดยการบวงสรวงอ้อนวอนและกระทำความดีต่อพระองค์ ผู้ที่พระองค์ทรงโปรดหากตายไปก็จะไปเกิดในสุคติภูมิ และถ้าหากโปรดเป็นที่สุด ก็จะได้ไปอยู่กับพระองค์ชั่วนิรันดร แต่ถ้าไม่ทรงโปรดก็จะไปเกิดในทุคติภูมิ ได้รับทุกข์เวทนาแสนสาหัส ชาวฮินดูเชื่อว่าวิญญาณเป็นอมตะจึงไม่ตายตามร่างกาย ที่ว่าตายนั้นเป็นเพียงวิญญาณออกจากร่างกาย เพราะร่างกายทรุดโทรมจนอาศัยอยู่ไม่ได้เท่านั้น วิญญาณก็จะไปถือเอาร่างใหม่ หรือที่เรียกว่า เกิดใหม่ ดุจคนสวมเสื้อผ้าเมื่อใช้นานไปก็เก่าครำคร่า ก็ไปหาชุดใหม่สวมก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้นวิญญาณจึงไม่มีเกิดมีตาย   การเกิดตายเป็นเพียงเรื่องร่างกาย เท่านั้นเอง วิญญาณจะไปถือเอาร่างใหม่หรือที่เรียกว่าสังสารวัฏ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ร่ำไปตราบที่ยังไม่บรรลุโมกษะ ชาวฮินดูเชื่อว่า โมกษะเป็นจุดหมายสูงสุดของชีวิต ผู้เข้าถึงโมกษะจะไปอยู่กับพระพรหมชั่วนิรันดร ไม่ต้องมาเวียนว่าย ตายเกิดอีกต่อไป

ศาสนาอิสลามมีจุดหมายปลายทางของชีวิตอันเป็นความสุขนิรันดร คือ การได้ไปอยู่กับพระอัลเลาะห์ วิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดหมายนั้นศาสนิกจะต้องปฏิบัติตามคำสอนของ      พระมุฮัมมัดโดยเฉพาะหลักปฏิบัติ(อิบาดะห์) 5 ประการอย่างเคร่งครัดและถูกต้องสมบูรณ์    ชาวอิสลามเชื่อว่าชีวิตในโลกนี้มีเพียงครั้งเดียวจากนั้นจะไปอยู่สวรรค์หรือ นรกชั่วนิรันดร

เปรียบเทียบศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดู

เปรียบเทียบศาสนาพุทธกับศาสนาฮินดู
                  ในปัจจุบันหลักคำสอนของศาสนาพราหมณ์ ได้ผสมหรือปลอมปนเข้ามาอยู่ในคำสอนของพุทธศาสนามาช้านานแล้วโดยชาวพุทธไม่ รู้ตัว จึงทำให้ชาวพุทธเข้าใจหลักพุทธศาสนาที่แท้จริงผิดพลาดไปหมด แล้วก็มีการปฏิบัติที่ผิดพลาดตามไปด้วย จึงทำให้ชาวพุทธไม่ได้รับประโยชน์จากคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า คือกลายเป็นว่า ชาวพุทธนั้นมีแต่ชื่อว่าเป็นพุทธ แต่การปฏิบัติกลับกลายเป็นพราหมณ์กันไปหมดโดยไม่รู้ตัว และยังยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งที่ตัวเองยึดถือปฏิบัติอยู่นี้คือคำสอนที่แท้ จริงของพระพุทธเจ้าอีกด้วย อีกทั้งเมื่อมีผู้นำคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธเจ้ามาบอกกล่าว ซึ่งไม่ตรงกับความเชื่อที่ผสมหรือปลอมปนกับพราหมณ์อยู่ จึงทำให้ชาวพุทธไม่ยอมรับ แถมบางคนยังต่อต้านอีกด้วย ดังนั้นเพื่อทำความเข้าใจว่าพุทธแท้ๆนั้นสอนว่าอย่างไร? และพราหมณ์เขาสอนอย่างไร?  บทความนี้จึงได้สรุปหลักของพุทธกับพราหมณ์ที่แตกต่างกันเอาไว้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะได้ศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจต่อศาสนาทั้งสองอย่าง ถูกต้องต่อไป
๑. เรื่องสิ่งสูงสุด
       ศาสนาพราหมณ์ (หรือฮินดู) เป็นศาสนาประเภทเทวนิยมคือเคารพยอมรับเรื่องเทพเจ้าเป็นสิ่งสูงสุด โดยเทพเจ้า ๓ องค์ที่ชาวฮินดูให้ความเคารพสูงสุดอันได้แก่
๑. พระพรหม ที่เป็นเทพเจ้าผู้สร้างหรือให้กำเนิดทุกสิ่งในจักรวาลขึ้นมา
๒. พระวิษณุ หรือพระนารายณ์ ที่เป็นเทพเจ้าผู้ปกป้องรักษา
๓. พระอิศวร หรือพระศิวะ ที่เป็นเทพเจ้าผู้ทำลาย
         เทพเจ้าทั้ง ๓ องค์นี้รวมเรียกว่า ตรีมูรติ ที่เป็นเทพเจ้าสูงสุด แต่ชาวฮินดูยังนับถือเทพเจ้ารองๆลงมาอีกมากประมาณ ๓๐๐ ล้างองค์
          ส่วน พุทธศาสนาจะสอนว่า สิ่งสูงสุดในโลกและในจักรวาล ที่คอยควบคุมและดลบันดาลทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นไปก็คือธรรมชาติ ที่แสดงออกมาในลักษณะของกฎของธรรมชาติที่ชื่อว่า กฎอิทัปปัจจยตา (คือกฎที่มีใจความสรุปว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้น ต้องมีเหตุและปัจจัยมาปรุงแต่งให้เกิดขึ้น”)
๒. เรื่องการกำเนิดชีวิต
                ศาสนา พราหมณ์จะสอนว่า โลกและทุกชีวิตเกิดมาจากพระพรหมเป็นผู้สร้างขึ้นมาและคอยควบคุมอยู่ (พรหมลิขิต) ส่วนพระนารายณ์จะเป็นผู้คอยปกป้องรักษา (โดยการอวตารลงมาเป็นเป็นมนุษย์ เช่น เป็นพระรามเพื่อฆ่ายักษ์ที่คอยทำร้ายมนุษย์ หรือเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อสอนมนุษย์ผิดๆเพื่อให้มนุษย์ตกนรกกันมากๆ เพราะสวรรค์เต็มหมดแล้ว เป็นต้น) ส่วนพระอิศวรจะเป็นผู้ทำลาย
               ส่วน พุทธศาสนาจะสอนว่า โลกนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ โดยมีธาตุ ๔ เป็นพื้นฐาน คือ ๑. ธาตุดิน (ของแข็ง) ๒. ธาตุน้ำ (ของเหลว) ๓. ธาตุไฟ (ความร้อน) ๔. ธาตุลม (อากาศ) โดยธาตุทั้ง ๔ นี้จะปรุงแต่งกันทำให้เกิดเป็นวัตถุสิ่งของต่างๆขึ้นมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ โดยวัตถุสิ่งของทั้งหลายนี้จะอาศัยธาตุว่าง (สุญญากาศ) ตั้งอยู่ และธาตุทั้ง ๔ นี้ยังปรุงแต่งให้เกิดวัตถุที่แสนมหัศจรรย์ (คือร่างกายของมนุษย์ สัตว์ และพืช) ขึ้นมาอีกด้วย โดยวัตถุที่แสนมหัศจรรย์นี้ก็จะปรุงแต่งหรือทำให้เกิดมีธาตุที่พิเศษสุดขึ้น มาอีก นั่นก็คือ ธาตุรู้ (หรือธาตุวิญญาณ) ซึ่งธาตุรู้นี้เองที่ทำให้ร่างกายและระบบประสาทต่างๆของร่างกายมนุษย์ สัตว์ และพืชเกิดการรับรู้และรู้สึกต่อสภาพแวดล้อมต่างๆของธรรมชาติได้ และสิ่งที่มหัศจรรย์ที่สุดก็คือ มนุษย์นั้นจะมีเนื้อสมองพิเศษที่สามารถจดจำสิ่งต่างๆที่รับรู้และรู้สึกมา ได้เป็นอย่างดี จึงทำให้มนุษย์นั้นมีความทรงจำมากและการคิดนึกปรุงแต่งได้มากและสลับซับซ้อน อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง จนเกิดเป็นสิ่งที่สมมติเรียกกันว่า "จิต" หรือ "ใจ" ขึ้นมา
๓. เรื่องของจิต (หรือวิญญาณ)
              ศาสนาพราหมณ์จะสอนว่า จิต (หรือวิญญาณ) ของมนุษย์และสัตว์นี้เป็น อัตตา (ตัวตนที่เป็นอมตะ คือจะมีอยู่ไปชั่วนิรันดร) ที่แยกออกมาจากปรมาตมันหรือพรหม แล้วก็จะเวียนว่ายตาย-ในทางร่างกายเกิดเพื่อรับผลกรรมของตัวเอง จนกว่าจะบำเพ็ญตบะเพื่อชำระล้างกิเลสให้หมดสิ้นไปจากจิตได้ จิตก็จะบริสุทธิ์และกลับไปรวมกับปรมาตมันหรือพรหมดังเดิม และมีความสุขอยู่ชั่วนิรันดร  
           ส่วนพุทธศาสนาจะสอนว่า จิตของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายนี้เป็น อนัตตา (คือเป็นเพียงสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาเท่านั้น จึงไม่มีตัวตนเป็นของตนเอง และก็เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง หรือไม่เป็นอมตะ รวมทั้งยังต้องทนอยู่อีกด้วย) ที่เกิดขึ้นมาจากการปรุงแต่งของระบบประสาทที่ยังดีอยู่ของร่างกายที่ยัง เป็นๆอยู่เท่านั้น เมื่อจิตนี้มีเจตนาดี ก็จะทำดี แล้วก็จะเกิดความสุขใจ อิ่มใจขึ้นมาทันที (ที่สมมติเรียกว่าเป็นเทวดาที่กำลังอยู่บนสวรรค์) แต่ถ้าจิตนี้มีเจตนาชั่ว ก็จะทำชั่ว แล้วก็จะเกิดความทุกข์ใจ เสียใจขึ้นมาทันที (ที่สมมติเรียกว่าเป็นสัตว์นรกที่กำลังอยู่ในนรก) ซึ่งอาการนี้เรียกว่าการเวียนว่ายตาย-เกิดในทางจิตใจ จนกว่าเมื่อใดที่จิตนี้จะหลุดพ้นจากความดีและชั่ว จิตก็จะบริสุทธิ์และไม่เกิดเป็นอะไรๆ (ตามที่สมติเรียกกัน) อีกต่อไป ซึ่งสภาวะนี้เรียกว่า นิพพาน ที่หมายถึง ความไม่มีทุกข์ หรือความสงบเย็นของจิตใจ โดยนิพพานนี้ก็มีทั้งอย่างชั่วคราวและอย่างถาวร ซึ่งอย่างถาวรก็คือมีตราบเท่าที่จะยังมีจิตอยู่
ต่อท้าย #2 29 ธ.ค. 2553, 20:11:15
๔. เรื่องจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต
                 ศาสนาพราหมณ์จะสอนว่า ชีวิตจะมีการเวียนว่ายตาย-เกิดหลายภพหลายชาติ ดังนั้นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตก็คือ การที่ไม่ต้องเวียนว่ายตาย-เกิดอีกต่อไป และได้กลับไปรวมกับพรหม หรือปรมาตมัน ที่มีแต่ความสุขอยู่ชั่วนิรันดร ส่วนจุดมุ่งหมายรองลงมาก็คือ การได้เสพสุขอยู่บนสวรรค์ตราบนานเท่านานโดยไม่ต้องทำงาน
                  ส่วนพุทธ ศาสนาจะสอนว่า ชีวิตนี้จะมีร่างกายและจิตใจที่พึ่งพาอาศัยกันอยู่ จะแยกกันไม่ได้ ถ้าแยกกันเมื่อใด ก็จะแตกสลาย (ใช้กับร่างกาย) และดับ (ใช้กับจิตใจ) หายไปด้วยกันทั้งคู่ทันที ซึ่งเท่ากับพุทธศาสนาไม่สอนว่ามีการเวียนว่ายตาย-เกิดในทางร่างกายอีก ดังนั้นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตก็คือ การมีชีวิตที่ไม่มีความทุกข์ทางจิตใจเลยอย่างสิ้นเชิงหรือถาวร (คือตราบเท่าที่จะยังมีจิตอยู่) ที่เรียกว่า นิพพาน ที่หมายถึง ความไม่มีทุกข์ หรือความสงบเย็น ส่วนจุดมุ่งหมายที่รองลงมาก็คือ การมีชีวิตที่มีความปกติสุข ไม่เดือดร้อน ถึงแม้จะยังคงมีความทุกข์ทางด้านจิตใจอยู่บ้างก็ตาม

๕. เรื่องกรรม-วิบาก
                ศาสนา พราหมณ์สอนเรื่องว่า การกระทำ (กรรม) ของเราในชาตินี้ จะมีผล (วิบาก) ให้เราต้องไปรับผลกรรมนั้นในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไป  ใครทำกรรมดี ก็จะได้รับผลดีในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไป (เช่น ได้ขึ้นสวรรค์ หรือเกิดมาแล้วร่ำรวยสุขสบายและมีเกียรติ เป็นต้น) ส่วนใครทำกรรมชั่วก็จะได้รับผลชั่วในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไป (เช่น ตกนรก หรือเกิดมาแล้วยากจนลำบากและต่ำต้อย เป็นต้น)
             ส่วนพุทธศาสนาจะสอน เรื่อง การกระทำด้วยเจตนา (เจตนาก็คือกิเลส คือโลภ โกรธ ไม่แน่ใจ) ว่านี่คือกรรม ที่มีผลเป็นวิบาก คือเกิดความรู้สึกไปตามที่จิตใต้สำนึกมันรู้สึก คือเมื่อทำกรรมดี จิตใต้สำนึกมันก็จะรู้ว่านี่คือสิ่งที่ดี แล้วมันก็จะเกิดความสุขใจอิ่มใจขึ้นมาทันที (หรือเมื่อทำเสร็จแล้ว) หรือเมื่อทำกรรมชั่ว จิตใต้สำนึกมันก็รู้อยู่ว่านี่คือสิ่งที่ชั่ว แล้วมันก็จะเกิดความทุกข์ใจ ร้อนใจ หรืออย่างน้อยก็เสียใจ ไม่สบายใจขึ้นมาทันที (หรือเมื่อทำเสร็จแล้ว)
๖. เรื่องนรก-สวรรค์
               ศาสนา พราหมณ์จะสอนเรื่อง นรก-สวรรค์ที่เป็นสถานที่ (ที่เราชอบเรียกกันว่า นรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า) ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับเอาไว้รองรับจิตที่เป็นอมตะ ที่เมื่อใครทำความชั่วเมื่อตายไปแล้วจิตก็จะไปลงนรกที่มีแต่การลงโทษให้มี แต่ความทุกข์ทรมานที่คนทั่วไปหวาดกลัวกันอย่างยิ่ง (ที่มีแต่เรื่องการทรมาน เช่น ถูกต้ม ถูกตี ถูกแทง เป็นต้น แต่ก็ไม่ตายสักทีแต่จะอยู่เช่นนี้เป็นร้อยเป็นพันปี) แต่ถ้าทำความดีเมื่อตายไปแล้วก็จะได้ขึ้นสวรรค์ที่มีแต่ความสุขตามที่คนเรา ทั่วไปอยากจะได้ (ที่มีแต่เรื่องความสนุกสนานรื่นเริงและเรื่องทางเพศเป็นร้อยเป็นพันปี เช่น อยู่ในปราสาทที่สวยงามใหญ่โต มีสวนดอกไม้ที่น่ารื่นรมย์ มีเครื่องแต่งกายที่วิจิตรสวยงาม และมีนางฟ้าที่สวยงามอย่างยิ่งเป็นบริวารมากมาย เป็นต้น) ซึ่งนี่คือนรก-สวรรค์ที่เป็นไสยศาสตร์ ที่พิสูจน์ไม่ได้ ไม่มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล ที่มีไว้สอนคนป่าคนดง หรือชาวบ้านธรรมดาที่ไม่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาก่อน หรือสำหรับคนที่มีความรู้แต่ไม่สนใจศึกษาชีวิตอย่างจริงจัง
               ส่วนพุทธ สอนเรื่อง สวรรค์ในอก นรกในใจ คือจะสอนว่า เมื่อเราทำความดีเมื่อใด ก็จะเกิดเป็นความสุขใจ หรืออิ่มเอมใจขึ้นมาในทันทีหรือเมื่อทำเสร็จ หรือเมื่อเราทำความชั่วเมื่อใด ก็จะเกิดเป็นความทุกข์ใน ร้อนใจ หรืออย่างต่ำก็เป็นความไม่สบายใจขึ้นมาทันทีหรือเมื่อทำเสร็จแล้ว ซึ่งนี่คือนรก-สวรรค์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ คือพิสูจน์ได้ มีเหตุผล ที่มีไว้สอนคนมีปัญญาที่สนใจจะศึกษาชีวิตหรือสนใจจะศึกษาเพื่อดับทุกข์
๗. เรื่องความเชื่อ
              ศาสนาพราหมณ์จะสอนให้เชื่อมั่นเพียงอย่างเดียว ห้ามถามห้ามสงสัย ถ้าใครไม่เชื่อก็จะตกนรก ซึ่งหลักการนี้ก็นับว่าดีสำหรับคนรุ่นเก่าหรือคนป่าคนดงที่ไม่มีความรู้ เรื่องวิทยาศาสตร์มาก่อน หรือคนที่ไม่ได้สนใจศึกษาชีวิตอย่างจริงจัง
              ส่วน พุทธศาสนาในระดับพื้นฐาน (คือศีลธรรม ที่เป็นคำสอนในเรื่องการดำเนินชีวิตที่ปกติสุข) จะไม่เน้นเรื่องความเชื่อ คือใครจะเชื่ออย่างไรก็ได้ ขอเพียงว่าอย่าทำความชั่วก็แล้วกัน แต่พุทธศาสนาระดับสูง (ปรมัตถธรรม ที่เป็นคำสอนเรื่องการดับทุกข์ของจิตใจมนุษย์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าหลักอริยสัจ ๔) จะสอนให้ใช้ปัญญานำหน้าความเชื่อ คือสงสัยได้ ถามได้ และต้องพิสูจน์ให้เห็นแจ้งก่อนจึงค่อยเชื่อ คือสรุปว่าพุทธศาสนาระดับสูงจะสอนว่า อย่าเชื่อใครแม้แต่ตัวเอง เมื่อพบคำสอนใดก็ให้นำมาพิจารณาดูก่อน ถ้าเห็นว่ามีโทษก็ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์ก็ให้นำมาทดลองปฏิบัติดูก่อน ถ้าปฏิบัติแล้วไม่ได้ผลจริงก็ให้ละทิ้งอีกเหมือนกัน แต่ถ้าทดลองปฏิบัติแล้วได้ผลจริงก็ให้ปลงใจเชื่อได้ และให้นำเอามาปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นต่อไป
๗. เรื่องหลักการศึกษา
            ศาสนา พราหมณ์จะใช้หลักไสยศาสตร์ในการศึกษา คือศึกษาจาการคาดคะเนเอา หรือเชื่อตามคนอื่น โดยจะไม่มีเหตุผล ไม่มีของจริงมาให้พิสูจน์ ไม่มีหลักการและระบบมาให้ศึกษา ดับทุกข์ไม่ได้ จะช่วยได้ก็เพียงช่วยให้สบายใจขึ้นมาบ้างเท่านั้น
            ส่วนพุทธศาสนาจะ ใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการศึกษา คือศึกษาจากสิ่งที่มีอยู่จริง พิสูจน์ได้ ศึกษาอย่างมีเหตุผล ศึกษาอย่างเป็นระบบ และจะเชื่อก็ต่อเมื่อได้พิสูจน์จนเห็นผลอย่างแน่ชัดแล้วเท่านั้น และใช้ดับทุกข์ของจิตใจได้จริง
๘. เรื่องหลักการปฏิบัติ
            ศาสนา พราหมณ์จะเน้นใช้ "พิธี" หรือการกระทำเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์หรือเกิดโชคลาภ ซึ่งเป็นหลักไสยศาสตร์ เช่น พิธีกรรมต่างๆ เพื่อให้เทพเจ้าพอใจและช่วยดลบันดาลที่ต้องการได้ หรือเพื่อให้เกิดอำนาจวิเศษ ความศักดิ์สิทธิ์ โชค ลาภ และความพ้นทุกข์
              ส่วน ศาสนาพุทธจะใช้ "วิธี" หรือการลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาใครๆหรืออะไรๆมาช่วย ซึ่งเป็นหลักวิทยาศาสตร์ คือจะมีการปฏิบัติอย่างมีเหตุมีผล ไม่งมงาย อย่างเช่น การละเลิกอบายมุขทั้งหลาย เพื่อทำให้ชีวิตไม่เดือดร้อน หรือการขยันอดทน ประหยัด ไม่คบเพื่อนชั่ว ก็จะทำให้ร่ำรวยขึ้นมาได้ หรือวิธีการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน เป็นต้น
๙. เรื่องสมาธิ
              ศาสนา พราหมณ์จะสอนเรื่องสมาธิสูงๆชนิดที่คนเราธรรมดาปฏิบัติได้ยากอย่างยิ่ง  ถ้าใครปฏิบัติได้ก็จะมีฤทธิ์มีเดช หรือมีอำนาจเหนือธรรมชาติต่างๆมากมาย เช่น เหาะ หรือหายตัวได้ เนรมิตสิ่งของได้ ถอดจิตไปเที่ยวนรก-สวรรค์ได้ และมีญาณ (ความรู้ที่เกิดมาจากการปฏิบัติ) ในการกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไปอย่างถาวรได้ (ทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสได้อย่างถาวร) เป็นต้น
            ส่วนพุทธศาสนา จะสอนเรื่องสมาธิตามธรรมชาติที่เราทุกคนก็สามารถปฏิบัติได้ อันได้แก่ ความตั้งใจในการเรียน การทำงาน การคิด การพูด และการกระทำทางกายทั้งหลาย ที่มันคงแน่วแน่และต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ  โดยผลโดยตรงของสมาธิก็คือ ทำให้เกิดความสุขสงบที่ประณีตขึ้นมาทันทีที่จิตมีสมาธิ และช่วยกำจัดกิเลสทั้งหลายให้ระงับดับลงทั้งอย่างชั่วคราวและถาวรได้ ส่วนผลโดยอ้อมของสมาธิก็คือ สมาธินี้จะเป็นพื้นฐานให้เกิดปัญญาที่นำมาใช้ในการดับทุกข์ของจิตใจได้ทั้ง อย่างชั่วคราวและอย่างถาวร


๑๐. เรื่องวิธีการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์
              ศาสนา พราหมณ์จะสอนเรื่องการอ้อนวอนเทพเจ้าและการฝึกสมาธิอย่างหนัก รวมทั้งการบำเพ็ญโยคะ (การทรมานร่างกายด้วยวิธีต่างๆ) เพื่อให้อัตตาหรือตัวตนบริสุทธิ์จากกิเลส เมื่ออัตตาไม่มีกิเลสแล้วก็จะกลับไปรวมกับพรหมหรือปรมาตมันและพ้นจากทุกข์ ได้ตลอดไป หรือมีชีวิตที่มีแต่ความสุขอยู่ชั่วนิรันดร ไม่ต้องมาเวียนว่ายตาย-เกิดให้เป็นทุกข์อีกต่อไป (ที่เรียกว่าโมกษะ)
             ส่วน พุทธศาสนาจะสอนเรื่องการปฏิบัติเพื่อให้เกิด ปัญญา (ความรู้และเข้าใจตลอดจนความเห็นแจ้งว่าไม่มีอัตตาหรือไม่มีตัวเรา), สมาธิ (ความตั้งใจมั่นสม่ำเสมอ), และ ศีล (การมีกายและวาจาที่เรียบร้อย) เพื่อนำมาใช้ดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน ทั้งอย่างชั่วคราวและอย่างถาวร (นิพพาน)
                 

            ศาสนาพราหมณ์จะสอนเรื่องการฆ่าสัตว์บูชายัญบูชา เทพเจ้า, การฝึกสมาธิ, การสวดอ้อนวอน, การนำทรัพย์สินของมีค่ามามอบให้แก่พราหมณ์ (ผู้ประกอบพิธี), และการบำเพ็ญตบะตามหลักโยคะ (การทรมานร่างกาย) เป็นต้น ว่านี่คือการสร้างบุญ ส่วนบาปก็คือการล่วงละเมิดศีล ๕ (คือฆ่าสัตว์, ลักทรัพย์, ประพฤติผิดในเรื่องทางเพศ, การพูดโกหก, และการดื่มสุราหรือเสพสิ่งเสพติด) รวมทั้งการดูหมิ่นไม่เชื่อฟังเทพเจ้า เป็นต้น
              ส่วนพุทธศาสนาจะสอนเรื่อง การช่วยเหลือชีวิตของสัตว์และมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ให้ทรัพย์ ให้อภัย ให้โอกาส ให้ความรู้ ให้ธรรมะ เพื่อให้พ้นจากความทุกข์ความเดือดร้อนว่านี่คือ บุญ (การทำความดีแล้วสุขใจ) ส่วนการเบียดเบียนชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ว่าจะโดยวิธีใด ก็คือ บาป (การทำความชั่วแล้วทุกข์ใจ ร้อนใจ หรืออย่างต่ำก็ไม่บายใจ หรือเสียใจ)
๑๒. เรื่องการศึกษา
             ศาสนา พราหมณ์ จะสอนเรื่องลึกลับ ไกลตัว พิสูจน์ไม่ได้ ไม่มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล ไม่มีระบบหรือหลักในการศึกษา เช่น เรื่องเทวดา นางฟ้า นรกใต้ดิน สวรรค์บนฟ้า และเรื่องเวรกรรมจากชาติปางก่อน เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นหลักไสยศาสตร์
            ส่วนพุทธศาสนา จะสอนเรื่องที่ลึกซึ้งในร่างกายและจิตใจของเราเอง ที่พิสูจน์ได้ มีหลักหรือระบบในการศึกษา มีเหตุผลที่สมเหตุสมผล ซึ่งจัดเป็นหลักวิทยาศาสตร์ทางด้านจิตใจ
๑๓. เรื่องการวางตัวในสังคม
                ศาสนาพราหมณ์จะสอนให้มีวรรณะ (ชนชั้น) โดยชาวอินเดียวจะมีการแบ่งผู้คนออกเป็นพวกๆหรือวรรณะตามความเชื่อจากศาสนาฮินดูคือ
   ๑. วรรณะพราหมณ์เป็นวรรณะสูงสุด ได้แก่พวกผู้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ
  ๒. วรรณะกษัตริย์  ได้แก่พวกกษัตริย์ผู้ปกครองบ้านเมือง
   ๓. วรรณะแพศย์  ได้แก่พวกพ่อค้า ช่างฝีมือ
   ๔. วรรณะศูทร  ได้แก่พวกคนใช้
        ชาวอินเดียจะยึดถือเรื่องวรรณะกันมาก  ถ้าใครแต่งงานกันต่างวรรณะ ลูกออกมาจะเป็นพวกจัณฑาล ซึ่งเป็นคนชั้นต่ำสุดที่สังคมรังเกียจ  
              ส่วน พุทธศาสนาจะไม่สอนให้มีวรรณะ แต่จะสอนว่า ทุกคนนั้นจะดีหรือเลวไม่ได้ขึ้นอยู่ที่กำเนิด แต่ขึ้นอยู่ที่การกระทำของแต่ละบุคคล ถ้าใครทำดีจึงจะเป็นคนดี ถ้าใครทำชั่วก็จะเป็นคนชั่ว และจะสอนให้ทุกคนรักกัน เคารพกัน สามัคคีกัน และช่วยเหลือกันอย่างเสมอหน้า เพราะทุกคนคือเพื่อนร่วมทุกข์ เกิดแก่ เจ็บ ตายด้วยกันทั้งนั้น