จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

การนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในประเทศไทย

การนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในประเทศไทย จะมีทิศทางในการใช้ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1 มีแนวโน้มในการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในลักษณะต่อไปนี้ มีการใช้สื่อการ สอนเป็นรายบุคคลมากขึ้น เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังใช้ระบบการศึกษาทางไกลมากขึ้นในระดับที่สูงกว่าประถมศึกษา
2 การใช้สื่อการศึกษาที่ผลิตขึ้นจากท้องถิ่นอย่างเหมาะสมจะมีบทบาทสำคัญ ๆ ทั้งนี้เพราะงบประมาณที่จำกัด โดย
3 การจัดองค์การและการบริหารงานจะออกมาในรูปเป็นกลุ่ม เพื่อการประหยัด งบประมาณ ใช้งบประมาณให้ คุ้มค่าที่สุด และมีประสิทธิผลที่สุด
4 การวางหน้าที่ของสายงานโดยเฉพาะประเทศไทย จะมีรูปแบบที่คล้าย ๆ กัน แต่ขนาดเล็กใหญ่ตามความ
เหมาะสมของงานแต่ละแห่ง
5 การวิจัยทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาและการหานวัตกรรมทางการศึกาาที่สามารถนำมาใช้ได้จริง ๆ เริ่มมีมากขึ้น
6 แหล่งทรัพยากรการเรียน โดยเฉพาะบุคลากรในชุมชน เริ่มให้ความสนใจและให้ความร่วมมือกับฝ่ายการ
ศึกษามากขึ้น
7 ปัจจุบัน รัฐบาลไทยให้ความสำคัญต่อการศึกษา โดยเน้นการใช้สื่อการสอนและเทคโนโลยีเข้าช่วยแก้ปัญหา
ทั้งนี้ได้กำหนดให้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นหมวดหนึ่งใน 9 หมวดมาตรา ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2542) ซึ่งเน้นว่า
1) ส่งเสริมสนับสนุนในการผลิตและพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาทุกรูปแบบ
2) พัฒนาบุคลากรในด้านความรู้ ทักษะ การใช้ เทคโนโลยีอย่างมีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
3) พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ และทักษะในการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและหาความรู้ด้วยตนได้ตลอดชีวิต
4) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการติดตามประเมินผล การใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาว่าคุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทย
ที่มา http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01009.asp
แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นอย่างไร? ก็ดูเหมือนจะทำนายกันได้ยากเหมือนกัน แต่อย่างไรก็ดี
ยังมีวิธีการที่สามารถทำนายอนาคตได้อย่างน่าเชื่อถือ นั่นคือการใช้ เทคนิค เดลฟาย (Delphi technique) ที่ผู้ให้ข้อมูลจะต้องเป็น
ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นจริง ๆ ที่มีประสบการณ์ ที่กว้างขวางและช่ำชองเป็นเยี่ยม ผลการทำนายอนาคตหรือหาแนวโน้มจึงจะถูกต้อง
แม่นยำ ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาก็มีผู้เชี่ยวชาญได้ออกมากล่าวไว้อย่างน่าฟังต่าง ๆ นานา เช่นกัน
บทความที่ท่านอ่านอยู่นี้ผู้เขียนในฐานะที่อยู่ในวงการเทคโนโลยีการศึกษาเป็นเวลาเกือบ 30 ปี และได้ติดตามความเคลื่อนไหวทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากวารสารและเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ จึงขอแสดงความคิดเห็นถึงแนวโน้ม
ในอนาคตของเทคโนโลยีการศึกษาช่วงระยะปี 2539 - 2549 ไว้ดังนี้คือ
1. ศูนย์ทรัพยากรทางการเรียน (Learning resources center) สำหรับการศึกษาระดับประถมและมัธยมศึกษาจะมีแนวโน้ม
ร่วมมือร่วงมือกันจัดตั้งเป็นศูนย์กลางใช้ร่วมกันในกลุ่มโรงเรียน และเป็นการบริการที่สะดวกสบาย เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ
และมีสื่อการสอนที่มีคุณภาพและมากพอเพียงกับความต้องการ ส่วนสื่อพื้นฐาน เช่น กระเป๋าผนัง แผ่นป้ายต่าง ๆ ฯลฯ ก็จะมีประจำอยู่
ในห้องเรียนแล้ว ส่วนในระดับอุดมศึกษาก็จะมีสำนักเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเป็นหน่วยกลางในการผลิตสื่อและให้บริการกับ
ทุกหน่วยงานในสถาบัน ตลอดจนทำการวิจัยและพัฒนาสื่อให้มีประสิทธิภาพสูง
2. ชุดสื่อการสอน (Media package) นักเทคโนโลยีการศึกษาจะผลิตสื่อออกมาเป็นชุดสำเร็จรูปเพื่อสนองตอบความต้องการ
ของครู โดยเน้นเนื้อหาที่ครูส่วนมากสอนนักเรียนไม่ค่อยเข้าใจ ชุดสื่อสำเร็จรูปประกอบด้วย คำแนะนำในการใช้ประกอบการสอน
ตัวสื่อ แบบฝึกหัดและแบบทดสอบตัวสื่อก็จะเป็นลักษณะ สื่อประสม (Multimedia)
3. การปรับปรุงเครื่องมือประกอบการสอน (Improved media equiment) จะมีลักษณะพัฒนาเครื่องมือหลาย ๆ อย่างให้อยู่ใน
เครื่องมือเดียวกัน เป็นลักษณะเอนกประสงค์ที่มีเครื่องมือชิ้นเดียว แต่ใช้ได้หลายหน้าที่ เช่น เป็นทั้งเครื่องฉายสไลด์และเครื่องฉาย
ภาพโปร่งใส เป็นต้น
4. ใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้นจนเป็นเรื่องปรกติ (Increase utilizing computer) โดยจะนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์
มาใช้ประกอบการสอน มีการผลิตโปรแกรม CAI มากวิชาและมากเนื้อหา เพื่อให้สถาบันการศึกษาได้นำไปใช้ โดยเฉพาะจะทำเป็น
ลักษณะ Multimedia นอกจากนี้ในสถาบันการศึกษายังนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการบริหารจัดการมากขึ้นที่เรียกว่า CMI (Computer
management instruction ) เพื่อความรวดเร็วในการใช้ข้อมูล
5. การผลิตสื่อจากท้องถิ่น (Local medias production) การผลิตสื่อโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นยังมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งจะมีความริเริ่มทั้งรูปแบบวัสดุและเน้นประสิทธิภาพในการใช้ประกอบการสอน
6. การเปลี่ยนแปลงสื่อสิ่งพิมพ์ (Printing media) โดยเฉพาะตำราเรียนจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทั้งด้านเนื้อหา
วิชาที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ลักษณะรูปเล่มและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สำคัญของหนังสือจะเปลี่ยนไปเพื่อสนองตอบต่อความต้องการ
ของนักเรียน จนในที่สุดจะเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic books)
7. การประสานเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานในและนอกประเทศจะมีมากขึ้น ทั้งนี้เพราะระบบโลกาภิวัตน์ ทำให้หน่วยงาน
ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา ได้ติดต่อใกล้ชิดกันอย่างรวดเร็วและสะดวกสบายและด้วยความก้าวหน้าทาง IT (Information Technology)
ก็ยิ่งช่วยให้การเชื่อมโยงข้อมูลสะดวกรวดเร็วและมีประมาณมากขึ้นเป็นลำดับ
8. สื่อประเภทรายบุคคล (Individual media) เนื่องจากการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิต ฉะนั้นโอกาสที่ผู้เรียนจะเข้าชั้นเรียน
จึงน้อยลง ทำให้ทุกคนต้องเรียนด้วยตนเองเมื่อมีเวลาว่างจากการทำงาน ฉะนั้นสื่อประเภทนี้ จึงต้องมีความสมบูรณ์ในตัวที่ผู้เรียน
สามารถศึกษาได้เอง ซึ่งสะดวกต่อการพกพาไปได้ มีขนาดกะทัดรัด ใช้ง่าย และจูงใจให้ใช้ อาจจะอยู่ในรูปหนังสือโปรแกรม เทปเสียง
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และอื่น ๆ
http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-11-2539.html
สรุป คือ การนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในประเทศไทย ในอนาคตมีแนวโน้มว่า ต้องพึ่งพาสื่อด้าน IT มากขั้น มีการใช้ระบบการศึกษาทางไกล ใช้สื่อที่ผลิตขึ้นได้ในท้องถิ่นให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดเพื่อประหยัดงบประมาณ งานวิจัยทางการศึกษาเน้นการวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และบุคคลในชุมชนเริ่มให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมกับการศึกษามากขึ้น
ขอขอบคุณ : http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01007.asp
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดย
ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ (ค.ศ.๑๙๐๐ - ๑๙๙๙) ได้มีความพยายามในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ใช้สอยกับผู้ใช้ทั่วไปได้มากที่สุด โดยมุ่งเน้นการทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานประสานกับมนุษย์ด้วยภาษาพูด ความพยายามที่ว่านี้เป็นการใช้วิทยาการที่เรียกว่า ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ในการสร้างให้เครื่องจักรสามารถเข้าใจ ภาษาธรรมชาติของมนุษย์ (natural language) ทั้งในรูปภาษาเขียนและภาษาพูด ปัญหาที่ยากมากในการทำให้เครื่องจักรรับรู้และเข้าใจภาษามนุษย์คือ แม้แต่มนุษย์เองก็ยังไม่สามารถเข้าใจกระบวนการของการเรียนรู้ภาษาได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง เพราะกระบวนการนี้เป็นเรื่อง อัตโนมัติสำหรับมนุษย์ ซึ่งมีกลไกในสมองที่ธรรมชาติสร้างไว้ ให้สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับภาษาได้อย่างรวดเร็วมากในวัยเด็ก กระบวนการเรียนรู้ที่ว่านี้ยังมีการศึกษาอยู่ว่า เกิดขึ้นและพัฒนาต่อไปได้อย่างไร (ที่น่าสนใจคือ ความสามารถในการเรียนรู้ภาษานี้จะลดน้อยลงไปเรื่อยๆเมื่อโตขึ้นทำให้ผู้ใหญ่เรียนรู้ภาษาด้วยความยากลำบากกว่าเด็ก) กลุ่มนักวิจัยซึ่งทำงานในด้านนี้มาตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษที่ ๖๐ ได้พบว่า ความเข้าใจภาษานี้เป็นเรื่องยากมาก ๆ ความสำเร็จเท่าที่ได้มี มาแล้วยังเป็นเรื่องที่จำกัดอย่างยิ่ง ในขณะนี้ความสามารถในการเข้าใจคำสั่งภาษามนุษย์ยังมีไม่กี่คำหรือเป็นประโยคที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ในระยะต่อไป คาดว่าจะมีการปรับปรุงขีดความสามารถของระบบ ให้สามารถรับรู้คำสั่งที่ซับซ้อนใกล้เคียงกับภาษาพูดปกติในภาษาใดภาษาหนึ่ง
ความสามารถในการรับรู้ภาษาต่างๆของมนุษย์เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับความสามารถในการเข้าใจสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมที่ใช้กับภาษานั้นๆหากไม่สามารถสร้างสิ่งเหล่านี้เข้าไปในระบบความ เข้าใจของเครื่องจักร ก็ยากที่จะให้เกิดการตีความที่สื่อความหมายที่ถูกต้องระหว่างผู้ที่สื่อสารในภาษานั้นๆ อย่างไรก็ตาม ในสภาพแวดล้อมที่จำกัดลงมา เราก็อาจกำหนดกรอบเงื่อนไขที่เล็กลงมาสำหรับการจัดการกับข้อความ หรือคำที่เครื่องจักรจะต้องตีความ ซึ่งเห็นแล้วว่า ไม่ยากนักที่จะให้สัตว์เลี้ยงรับคำสั่งเป็นคำๆ แต่ยากที่จะให้มันเข้าใจข้อความหลายคำหรือเป็นประโยค ในกรณีของเครื่องจักรคอมพิวเตอร์ก็เช่นกัน เป็นการยากที่จะสร้างโปรแกรมสอนคอมพิวเตอร์ให้แยกคำและรับรู้ว่าคำใดมีความหมายอย่างไร และเมื่อประกอบคำเหล่านั้นเข้าด้วยกันในประโยคแล้วมีความหมายอย่างไร การเข้าใจภาษาเขียนนั้นเป็นการยากอยู่แล้ว เพราะต้องแยกอักขระออกเป็นคำ แล้วพิจารณาการประกอบของคำเป็นประโยค แต่การเข้าใจภาษาพูดยิ่งยากกว่าอีกมากเพราะต้องมีกระบวนการของการรับรู้เสียง แยกเสียง และส่วนประกอบของเสียง เพื่อให้ทราบว่าข้อความที่พูดนั้นหมายถึงอะไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น