จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เปรียบเทียบศาสนาฮินดู พุทธ

ฮินดู 
  ประวัติศาสดา    

     ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู ไม่มีศาสดาจริงจังเหมือนศาสนาอื่น แต่มีหัวหน้าลัทธิหรือผู้แต่งตำรา ทำหน้าที่คล้ายศาสดา โดยประวัติย่อของหัวหน้าลัทธิและผู้แต่งตำรา มีดังนี้
     1. วยาสะ ท่านผู้นี้เป็นผู้เรียบเรียงคัมภีร์พระเวท คัมภีร์อิติหาสะและคัมภีร์ปุราณะ
     2. วาลฆีกิ เป็นฤษีผู้แต่งมหากาพย์รามายณะ ท่านเป็นพราหมณ์โดยกำเนิด แต่ถูกพ่อแม่ทิ้งตั้งแต่ยังเล็กพวกชาวนาได้นำไป
          เลี้ยงไว้
     3. โคตมะ หรือ เคาตมะ ผู้ตั้งลัทธินยายะ เกิดประมาณ 550 ปีก่อน ค.ศ.
     4. กณาทะ ผู้ตั้งลัทธิไวเศษิกะ เกิดประมาณศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ
     5. กปิละ ผู้ตั้งลัทธิสางขยะ เกิดในสมัยศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ
     6. ปตัญชลี ผู้ตั้งลัทธิโยคะ เกิดในสมัยศตวรรษที่ 3 หรือ 4 ก่อน ค.ศ
     7. ไชมินิ ผู้ตั้งลัทธิมีมางสา หรือปูรวมีทางสา เกิดในสมัยศตวรรษที่ 6-2 ก่อน ค.ศ
     8. มนูหรือมนุ ผู้แต่งคัมภีร์ธรรมศาสตร์ เกิดในศตวรรษที่ 5 ก่อน ค.ศ.
     9. พาทรายณะ ผู้ตั้งลัทธิเวทานะหรือ อุตรมีมางสา มีผู้กล่าวว่าเป็นคนเดียวกับวยาสะ เกิดระหว่างศตวรรษที่ 6-2 ก่อน ค.ศ.
     10. จารวากะ ผู้ตั้งลัทธิโลกายะ หรือวัตถุนิยม ไม่มีประวัติแน่นอน
     11. ศังกราจารย์ ผู้แต่งอรรถกถา หรือคำอธิบายลัทธิเวทานะ เกิดระหว่างปี ค.ศ. 788-820 และเป็นผู้ตั้งลัทธิอไทวตะ หรือ
           เอกนิยมคือนิยมพระเจ้าองค์เดียว
     12. นาถมุนี เป็นผู้นำคนแรกของลัทธิไวษณวะ อยู่ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 824-924
     13. รามานุชาจารย์ ถือว่าเป็นคนแรกของลัทธิไวษณวะ และเจ้าของปรัชญาวิศิษฏาทไวตะเกิดปี ค.ศ. 1027
     14. มัธวาจารย์ เป็นผู้นำท่านหนึ่งแห่งลัทธิไวษณะวะ และเจ้าของปรัชญา ทไวตะ หรือ ทวินิยม อยู่ในช่วงระหว่าง
           1199-1277
     15. ลกุลีศะ (สมัยของท่านนี้ยังไม่แน่นอน) เป็นอาจารย์ใหญ่แห่งนิกายไศวะ ฝ่ายใต้ผู้ตั้งนิกายปศุปตะ
     16. วสุคุปตะ เป็นผู้ตั้งลัทธิไศวะฝ่ายเหนือที่เรียกว่า กาษปีรไศวะ (อยู่ระหว่างศตวรรษที่ 9 แห่ง ค.ศ.)
     17. รามโมหัน รอย เป็นผู้ตั้งพรหมสมาช (สมาคม) อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1774-1833
     18. สวามีทะยานัน สรัสวดี เป็นผู้ตั้งอารยสมาช อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1824-1833
     19. รามกฤษณะ เป็นผู้นำทางความรู้และการปฏิบัติ เป็นผู้จัดให้มีขบวนการรามกฤษณะมิชชัน แม้ท่านจะไม่ได้ตั้งขึ้นเอง แต่
           สวามีวิเวกานันทะ สรัสวดี ก็ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องอนุสรณ์ถึงท่าน อยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1836-1886

                                                                                                                                                                  <<
top >>
   แนวคิดเรื่องนรกสวรรค์          

     มีความเชื่อว่า เทพเจ้าองค์สำคัญๆ ประทับอยู่บนสวรรค์เป็นเจ้าสวรรค์

                                                                                                                                                                  <<
top >>
   แนวคิดเรื่องจุดหมายปลายทาง    

     1. จุดหมายปลายทาง กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระพรหม
     2. วิธีปฏิบัติ บำเพ็ญโยคะปลูกฝังให้เกิดความรู้เกี่ยวกับพระพรหม (ความจงรักภักดีต่อพระเป็นเจ้าทั้ง 3 ก็เป็นทางไปสู่จุดหมายปลายทางได้)
     3. ชีวิตในโลกนี้ มีหลายครั้งมีการเวียนว่ายตายเกิด

                                                                                                                                                                  <<
top >>
   วิธีปฏิบัติในศาสนา    

      ข้อปฏิบัติในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีทั้งส่วนที่ เป็นส่วนเฉพาะและส่วนรวมที่ต้องประพฤติปฏิบัติ ตามกฎประเพณีที่ทำไว้สำหรับวรรณะของตน

กฎสำหรับวรรณะ
     1.การแต่งงาน การแต่งงานจะมีนอกวรรณะไม่ได้ แต่ชายเป็นพราหมณ์แต่งงานกับหญิงวรรณะอื่นได้ เรียกว่า อนุโลม ส่วนหญิงที่เป็นพราหมณ์ แต่งงานกับชายวรรณะอื่นไม่ได้ เรียกว่า ปฏิโลม
     2.อาหารการกิน มีข้อกำหนดว่าอะไรกินได้ อะไรกินไม่ได้ และบุคคลวรรณะใดปรุงอาหารให้คนวรรณะใดกินไม่ได้ เช่น พราหมณ์ไม่กินเนื้อสัตว์ คนวรรณะอื่นปรุงอาหารให้กินไม่ได้ ต้องเป็นพราหมณ์ด้วยกันปรุงให้กันจึงจะกินได้
     3.อาชีพ ต้องอยู่ในการจำกัดว่า บุคคลเกิดวรรณะใดต้องประกอบอาชีพตามที่กำหนดไว้สำหรับบุคคลในวรรณะนั้นเท่านั้น
     4.เคหสถานที่อยู่ ในกฎเดิมห้ามชาวฮินดูมีถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่นอกเขตประเทศอินเดียและห้ามเดิน เรือในทะเล แต่ปัจจุบันไม่ถือกันแล้ว

การบูชายัญเทวะ
     1.การไหว้เพื่อถวายความจงรักภักดีแด่พระผู้เป็นเจ้าและเทพเจ้าต่างๆ ตามโบสถ์และเทวาลัย
     2.การสวดสรรเสริญพระเจ้า ภาวนา สงบจิต การใช้น้ำชำระกายและบูชาเทวะเป็นประจำทุกเดือน
     3.ปฏิบัติศาสนกิจเป็นพิเศษเป็นการสมโภชในวันสำคัญทางศาสนา มีการถือบำเพ็ญภาวนาอุทิศแด่เทวะ


พุทธ
ประวัติศาสดา    

     พระพุทธเจ้าพระนามเดิม สิทธัตถะเป็นโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา แห่งกรุงกบิลพัสดุ์ นครหลวงของแคว้น สักกะทางอินเดียภาคเหนือ พระองค์ประสูติที่ป่าลุมพินี อันตั้งอยู่แดนต่อแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตประเทศเนปาล เรียกว่า ลุมมินเด
เมื่อเจริญวัย ทรงได้รับการศึกษาศิลปวิทยาอย่างดีเมื่อพระชนมายุ 16 ปี ทรงอภิเษกกับเจ้าหญิงโยโสธราหรือพิมพาแห่งกรุงเทวทหะ เมื่อพระชน 29ปี ทรงได้พระโอรสพระนามว่า ราหุล
     ในปีที่ 29 แห่งพระชนมายุนั่นเองได้เสด็จออกทรงผนวชเพื่อแสวงหาการตรัสรู้สัจธรรม เพื่อพ้นความเวียนวายตายเกิดและเพื่อสั่งสอนโลกให้ได้ตรัสรู้ตามครั้งแรกทรง ศึกษาจากอาฬารดาบส และอุททกดาบส แต่ทรงไม่เห็นด้วย จึงค้นคว้าและทรงปฏิบัติด้วยพระองค์เองต่อไป ทรงบำเพ็ญเพียรอย่างหนักครั้งแรกทดลองวิธีทรมานพระองค์ตามแบบนักบวชในครั้ง นั้นในที่สุด ทรงพบว่ามิใช่ทางที่ถูก จึงฝึกอบรมทางจิต และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใน 6 ปีต่อมา คือพระชนมายุได้ 35 ปี ณ โคนแห่งไม้โพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ปัจจุบันเรียกว่าตำบลพุทธคยา แคว้นพิหารของอินเดีย ต่อจากนั้น เสด็จไปแสดงธรรมครั้งแรกแก่ภิกษุ 5 รูป ซึ่งออกบวชตามพระองค์และคอยรับใช้ระหว่างบำเพ็ญเพียร แต่เมื่อเห็นทรงเลิกทรมานพระกาย ก็เข้าใจว่าทรงทำผิด จึงปลีกตัวมาอยู่ที่ป่าอิสิปตนะอันเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อใกล้กรุงพาราณสี การทรงแสดงธรรมครั้งแรกหรือที่เรียกว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนั้นได้ผล คือภิกษุรูปหนึ่งนามว่า โกณทัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม ต่อมาภิกษุอื่นๆก็ได้รับการเทศนาสั่งสอนจนได้ดวงตาเห็นธรรมหมดทุกรูป แล้วจึงทรงแสดง อนัตตลักขณสูตรเพื่อชี้ลักษณะเป็น อนัตตาจะได้คล้ายความคิดอัตตา หรืออาตมันตามแบบพราหมณ์ ภิกษุทั้ง 5 รูปได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สถานที่แสดงธรรมจักรในปัจจุบันเรียกว่าสารนาถ อยู่ในแคว้นอุตตรประเทศของอินเดีย
     ทรงแสดงธรรมและบัญญัติพระวินัยประดิษฐานพระพุทธศาสนา มีภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา คือนักบวชชายหญิง และสาวกที่เป็นคฤหัสถ์ชายหญิงมากมายเป็นเวลา 45 ปี ก็ได้ปรินิพพาน ณ ป่าไม้สาละใกล้กรุงกุสินารา ในปัจจุบันเรียกว่า กุสินคร ทรงสอนให้ถือพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระองค์
     พระองค์ไม่สอนศาสนาโดยตั้งพระองค์เป็นจุดศูนย์กลาง พระธรรมคือความจริงความถูกความตรง ที่ทรงนำมาสอนมิได้สั่งสอนด้วยการเดา แต่ทรงประพฤติปฏิบัติประจักษ์แจ้งในความจริงนั้นๆมาแล้วจึงนำมาสั่งสอน
พระองค์ไม่ทรงสอนเรื่องเทวดาสร้างโลก และไม่เรียกร้องความเคารพนับถือ กลับทรงแสดงว่าผู้บูชาพระองค์ด้วยวัตถุ เช่น ธูปเทียนดอกไม้ไม่เชื่อว่าบูชาด้วยบูชาอย่างยิ่ง ผู้ใดประพฤติตนดีตามธรรมะผู้นั้น จึงถือว่าบูชาพระองค์ด้วยบูชาอย่างยิ่ง เป็นการเน้นให้เห็นถึงความสำคัญที่ความประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนกล่าว อย่างสั้นๆ

เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของพระองค์ก็คือ
     1. ประสูติ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี ณ ป่าลุมพินี ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่าลุมมินเด ตั้งอยู่ในประเทศเนปาล ในวันวิสาขปุณณมี คือวันพระจันทร์เต็มดวงแห่งเดือนเวสาขะ (เทียบด้วยวันกลางเดือน 6 ของไทย)
     2. ตรัสรู้ ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ณ โคนไม้โพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า พุทธคยา ตั้งอยู่ในแคว้น พิหารประเทศอินเดีย ในวันวิสาปุณณมีเช่นเดียวกันกับวันประสูติเป็นแต่ต่างปีกัน
     3. แสดงธรรมครั้งแรก ในปีที่ตรัสรู้นั้นเอง ห่างจากวันตรัสรู้ 2 เดือน ณ ป่าอิสิปตนะ มิคทายะ ใกล้กรุงพาราณสี ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ ตั้งอยู่ในแคว้นอุตตรประเทศของอินเดีย ในวัน อาสาฬหปุณณมี คือวันพระจันทร์เต็มดวงแห่งเดือนอาสาฬหะ (เทียบด้วยวันกลางเดือน 8 ของไทย)
     4. ปรินิพพาน ก่อนพุทธศักราช 1 ปี ณ ป่าไม้สาละ ใกล้กรุงกุสินารา ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่ากุสินคร ตั้งอยู่ในแคว้นอุตตรประเทศอินเดีย ในวันวิสาขปุณณมีเช่นเดียวกันกับวันประสูติ และตรัสรู้ เป็นแต่ต่างปีกัน

                                                                                                                                                                  <<
top >>
   แนวคิดเรื่องนรกสวรรค์          

     พระพุทธศาสนา พูดเรื่องนี้ไว้เป็น 3 ระดับ

          ระดับที่ 1 นรก-สวรรค์ ภายหลังการตาย
          ตามพระไตรปิฎก "เมื่อตีความตามตัวอักษรแล้ว ก็ต้องบอกว่า มี" วิธีลงโทษในนรกด้วยประการต่างๆ มีใน พาลบัณฑิตสูตร และ เทวทูตสูตร... โดยมากพูดถึงนรก ไม่ค่อยพูดถึงสวรรค์.. นอกจากนี้ยังมีบางแห่งพูดถึงอายุเทวดาในชั้นต่างๆ เช่น ชั้นจาตุมหาราช หรือชั้นโลกบาล 4 ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และ ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ยังมีอายุมนุษย์ ถึงรูปพรหม แสดงไว้ในฝ่ายพระอภิธรรม

          ระดับที่ 2 นรก-สวรรค์ ที่อยู่ในใจ
          "สวรรค์ในอก นรกในใจ" เป็นเรื่องที่มีในชาตินี้ นรก-สวรรค์แม้ในชาติหน้า มันก็สืบไปจากที่มีในชาตินี้..." "ระดับจิตของเราอยู่แค่ไหน เวลาตายโดยทั่วไปถ้าไม่ใช่กรณียกเว้น มันก็อยู่ในระดับนั้น ส่วนในกรณียกเว้น ถ้าเวลาตายนึกถึงอารมณ์ที่ดี เช่นทำกรรมชั่วมามาก แต่เวลาตายนึกถึงสิ่งที่ดี ก็ไปเกิดดีได้ ถ้าหากเวลาอยู่ ทำกรรมดี แต่เวลาตายเกิดจิตเศร้าหมอง ระดับจิตตกลงไป ก็ไปเกิดในที่ต่ำ"

          ระดับที่ 3 นรก-สวรรค์ แต่ละขณะจิต
          คือ การที่เราปรุงแต่งสร้างนรก-สวรรค์ของเราเองตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน.. คือปรุงแต่งด้วยกิเลส มีความดี -ความชั่ว มีกุศล - อกุศลในจิตของเราเอง" "หากว่าจิตใจของเรามีภูมิธรรมดี สร้างกุศลไว้มาก ทำจิตใจให้อิ่มเอิบเป็นสุข พยายามมองในแง่ดี ก็รับอารมณ์ที่เป็นสุขไว้ได้มาก"

                                                                                                                                                                  
   แนวคิดเรื่องจุดหมายปลายทาง    

    1.จุดหมายปลายทาง นิพพาน (ดับความทุกข์ ความเดือดร้อนโดยดับกิเลส ที่เป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ ความเดือดร้อน)
    2.วิธีปฏิบัติ อริยมรรคมีองค์ 8 คือ ทางสายกลาง ไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป ประกอบด้วยหลักการ 8 อย่าง คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เป็นหลักการทางปัญญา การเจรจาชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ เป็นหลักการทางศีล ความเพียรชอบ การตั้งสติชอบ การตั้งใจมั่นชอบ เป็นหลักการทางจิตหรือสมาธิ
     3.ชีวิตในโลกนี้ มีหลายครั้ง มีการเวียนว่ายตายเกิด (หลักฐานเรื่องนี้จาก พระไตรปิฎก)
   วิธีปฏิบัติในศาสนา    

      ตามหลักพระพุทธศาสนา ทุกคนเป็นอิสระที่จะพิจารณาและตรวจสอบ คำสอนทางพระพุทธศาสนาก่อนที่จะตัดสินใจนับถือ แม้ภายหลังการนับถือแล้วบุคคลก็มีอิสรภาพที่จะเลือกส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งคำ สอนมาปฏิบัติได้ พระพุทธเจ้าได้ประทานรูปแบบแห่งการปฏิบัติหลายอย่างให้เหมาะแก่ประชาชนผู้มี รสนิยมและแนวโน้มต่าง ๆ กัน โดยมีแนวปฎิบัติ ดังต่อไปนี้

      1.เว้นความชั่วทั้งปวง บำเพ็ญความดีและชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว
      2. การเอื้อเฟื้อแบ่งปัน การมีศีลและการพัฒนาทางจิต
      3. การมีศีล สมาธิและปัญญา



อิสราม
  แนวคิดเรื่องนรกสวรรค์          

     เป็นศาสนาที่ปฏิเสธเรื่องกรรม ถือว่ากรรมมิใช่เรื่องของคนทำเอง แต่เป็นเรื่องของพระเจ้า และปฏิเสธเรื่องสังสารวัฏ แต่มีสวรรค์ นรก ดังนั้น คำสอนจึงเป็นไปเพื่ออยู่ในโลกนี้กับสวรรค์ พื้นฐานของศาสนานี้ที่สำคัญอยู่ที่ศรัทธาแต่พระอัลเลาะฮ์ โดยมีปาฏิหาริย์ อิทธฤทธิ์ของพระองค์เป็นหลักประกอบ แม้การปฏิบัติธรรมหรือทำอะไร แม้แต่ทำสงครามก็เพื่ออัลเลาะฮ์ ดังนั้น จุดมุ่งหมายสูงสุดของศาสนานี้ก็คือ ความโปรดปรานของพระอัลเลาะฮ์ จะได้ไปสวรรค์ไปอยู่ร่วมกับพระอัลเลาะฮ์ และให้คนทั้งโลกเป็นชาติเดียวกัน ภายใต้ร่มเงาของพระอัลเลาะฮ์ (คือเป็นมุสลิมให้หมด)
     ความเข้าใจเรื่องสังสารวัฏของมุสลิมในศาสนามุสลิมถือว่า ตายแล้วไม่กลับมาเกิดใหม่อีก เมื่อตายแล้ววิญญาณจะวนเวียนอยู่ที่ศพและกุโบร คือที่ฝังศพของตนจนกว่าจะถึงวันสิ้นโลก เมื่อถึงวันนั้นเทพอิสรอฟิลเป่าสังข์ ดวงวิญญาณทุกดวงจะเข้าร่างแล้วลุกขึ้นจากหลุมฝังศพ เดินไปรับคำพิพากษา ใครจะขึ้นสวรรค์ ลงนรกก็รู้กันวันนั้น ตามความดีความชั่วของตน ขึ้นสวรรค์ก็อยู่เป็นนิรันดร ตกนรกก็ชั่วนิรันดร

                                                                                                                                                                  <<
top >>
   แนวคิดเรื่องจุดหมายปลายทาง    

    1.จุดหมายปลายทาง สวรรค์ (อยู่กับพระเจ้า)
    2.วิธีปฏิบัต1. มีความเชื่อในพระอัลเลาะฮ์และทูตของพระองค์ คือ พระนบีมูฮัมมัด 2. ทำละหมาด คือ สวดมนต์หันหน้าไป
         ทางเมืองเมกกะ 3. ให้ทาน 4. อดอาหารเวลากลางวันในเดือนรอมฎอน (กลางคืนไม่ห้าม) 5. จาริกไปยังนครเมกกะ
     3.ชีวิตในโลกนี้ มีครั้งเดียว
คริสต์
   แนวคิดเรื่องนรกสวรรค์          

     ในศาสนานี้ถือว่า คนตายแล้วต้องเกิดใหม่แต่ก่อนจะเกิดใหม่ ต้องได้รับผลดีผลชั่วที่ทำไว้เมื่อเป็นคนให้หมดก่อน โดยถูกส่งขึ้นสวรรค์บ้าง ลงนรกบ้าง ตามความดีความชั่ว จะเป็นอยู่อย่างนี้ จนกว่าการต่อสู้ของพระเจ้ากับมารจะสิ้นสุด โดยพระเจ้าเป็นฝ่ายชนะ เมื่อถึงวาระนั้น ยมโลกอันเป็นที่พิพากษาวิญญาณ ก็จะได้รับการชำระล้างให้สะอาด ต่อจากนั้นสวรรค์ใหม่ โลกมนุษย์ใหม่ ก็จะเกิดใหม่ ตามประสงค์ของพระเจ้าซึ่งถูกมารขัดขวางไว้ ส่วนมารเมื่อแพ้แล้ว ก็จะไปอยู่โลกมืดอื่นอันเป็นที่เดิมของตน
     เมื่อมนุษย์ตายแล้ววิญญาณจะวนเวียนใกล้ร่างที่คนตายอยู่สามวัน ในขณะประกอบพิธีศพในบ้าน ถ้าดวงวิญญาณบริสุทธิ์ วิญญาณก็จะมีความสุขอยู่สามวัน ถ้าดวงวิญญาณไม่บริสุทธิ์ ก็จะมีความทุกข์สามวัน จากนั้นวิญญาณก็จะข้ามสะพานพิพากษา เพื่อไปรับคำพิพากษาและไปยังไฟชำระ
     วิธีขึ้นสวรรค์หรือตกนรก เมื่อตายแล้ว ความดีความชั่วของคนจะปรากฏเป็นตัวตน ความดีปรากฏเป็นหญิงงาม ความชั่วปรากฏเป็นหญิงแก่ หญิงทั้งสองนำวิญญาณคนดีคนชั่วไปทางเดียวกัน ไปข้ามสะพานพิพากษาความดี-ชั่วที่มีอยู่ในสุดของพระเจ้า สาวสวยจะนำวิญญาณดีข้ามสะพานไปสู่สวรรค์โดยเรียบร้อย คนแก่จะนำวิญญาณชั่วพลัดตกสะพานไปสู่นรก ถ้าความดี-ชั่วก่ำกึ่งกันก็ต้องไปรอคำพิพากษาจากตุลาการสูงสุดของพระเจ้า
     เมื่อได้รับผลดี-ชั่วพอแล้ว ก็จะกลับมาเกิดเป็นคนใหม่

                                                                                                                                                                  <<
top >>
   แนวคิดเรื่องจุดหมายปลายทาง    

     จุดหมายปลายทางสูงสุดของชีวิตของศาสนาโซโรอัสเตอร์ อันเป็นความสุขที่แท้จริงและนิรันดร คือ สวรรค์ วิธีจะบรรลุถึงจุดหมายปลายทางนั้น ศาสนิกชนจะต้องตั้งอยู่ในศีลธรรม คือ บำเพ็ญตนให้มีความบริสุทธิ์ทางกาย วาจา ใจ และบูชาพระเจ้าด้วยความจงรักภักดีอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น